โควิด ไทย
จากสถานการณ์ โควิด ไทย ที่กำลังวิกฤตหนักในตอนนี้ ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นถึงวันละ 2 หมื่นกว่าคน ตายร้อยกว่าคน/วัน ทำให้ยอดสะสมตอนนี้ในไทย ผู้ติดเชื้อสะสมนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเมื่อต้นปี 2563 มีจำนวน 693,305 ราย หรือประมาณ 1% ของจำนวนประชากร ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 5,663 คน ทำให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมอยู่ในอันดับที่ 41 ของโลก และมีแนวโน้มว่าจะมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ยอดผู้หายป่วยจากโควิด-19 ในประเทศ ผู้หายป่วยรายใหม่วันนี้ 17,926 ราย ผู้หายป่วยสะสม 446,306 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน – 5 สิงหาคม 2564) หายป่วยสะสมนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเมื่อต้นปี 2563 มีจำนวน 473,951 ราย
และสายพันธุ์ ที่กำลังระบาดหนักในตอนนี้คือสายพันธุ์เดลตา ในการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 จากเชื้อสายพันธุ์เดลตา ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่พบผู้ป่วยจำนวนมาก รวมทั้งในต่างจังหวัดจากผู้ป่วยที่เดินทางกลับไปรักษาที่บ้าน ซึ่งวันนี้พบผู้ป่วยรายใหม่กว่า 20,000 ราย จึงต้องเร่งดำเนินการค้นหา คัดกรองผู้ติดเชื้อ โดยมีทีมปฏิบัติการสอบสวนโรค (Operation) ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัด และ กทม. เพื่อค้นหาผู้ป่วยเพิ่ม และแยกผู้สัมผัสเสี่ยงสูง/เสี่ยงต่ำ ให้เข้าระบบการเฝ้าระวัง ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อให้อยู่ในวงจำกัดโดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ กรมควบคุมโรคได้เร่งกระจายวัคซีนไปยังจังหวัดต่าง ๆ ตามการจัดสรรของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เพื่อลดอาการป่วยที่รุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิต รวมทั้งฉีดให้กับกลุ่มบุคลากรการแพทย์และบุคลากรด่านหน้า
10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงที่สุด
- กรุงเทพมหานคร
2. ชลบุรี
3. สมุทรสาคร
4. สมุทรปราการ
5 .นนทบุรี
6. ฉะเชิงเทรา
7. สระบุรี
8 .นครราชสีมา
9. อุบลราชธานี
10 .อุดรธานี
ปฏิบัติการเชิงรุก CCR Team
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับชมรมแพทย์ชนบทได้จัดหน่วย CCR Team โดยบุคลากรสาธารณสุขจิต อาสาหลายสาขาวิชาชีพในภูมิภาค เช่น แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พยาบาล เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ซึ่งมีความ ชำนาญในการจัดบริการปฐมภูมิซึ่งหน่วยเชิงรุก CCR Team มีความสำคัญในการช่วยควบคุมสถานการณ์การระบาด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากช่วยแยกผู้ติดเชื้อในชุมชนไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อต่อ โดยเข้าไปตรวจคัดกรองหาผู้ติด เชื้อในชุมชน และภาคเอกชนร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้อาหารมาสนับสนุน ซึ่งการดำเนินงานเพื่อลดอัตราการ เสียชีวิตและอัตราการใช้เตียงในโรงพยาบาล
และ จังหวัดภูเก็ต ยกระดับมาตรการตรวจโควิด ราคา คัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต โดยมีคำสั่งในเรื่องมาตรการ คัดกรองคนเข้าพื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีผลตั้งแต่ถึงวันที่ 3 – 16 สิงหาคม 2564 โดยจำกัดการเดินทางของคนที่เดินทาง ภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งมาตรการดังกล่าวไม่มีผลกระทบกับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศตามโครงการภูเก็ต แซนด์ บ็อกซ์นักท่องเที่ยวและผู้ที่เข้าร่วมโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์จะต้องใช้บริการ Sandbox Express Bus ที่เปิด
เชื้อโควิดอยู่ได้นานกี่วัน
อายุขัย COVID-19 แตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นผิวโดยเชื้อสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้หลายชั่วโมงบนพื้นผิวเรียบแต่หากอยู่ในความชื้นที่เหมาะสม ก็สามารถอยู่รอดได้หลายวัน
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิความชื้น และชนิดของพื้นผิว โดยอายุขัยของ COVID-19จะแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพแวดล้อม ดังนี้
- อากาศ (5 นาที)
- ลูกบิดประตู (8 ชั่วโมง)
- กระดาษทิชชู่ (12 ชั่วโมง)
- โต๊ะผิวเรียบ (1-2 วัน)
- โทรศัพท์ (4 วัน)
- น้ำ (4 วัน)
- ธนบัตร (5 วัน)
- ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศา (1 เดือน)
ข้อควรรู้ เพื่อป้องกันตัวเองจาก COVID-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิดในปัจจุบัน ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันตัวให้ปลอดภัย และห่างไกลจาก COVID-19
- ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
- รักษาระยะห่างจากคนอื่น 1-2 เมตร
- ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- ใส่ถุงมือ ลดการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อโรค
- ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน
Covid-19 4 สายพันธุ์อันตรายในไทยที่ต้องระวัง!
เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศเปลี่ยนการเรียกชื่อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ โดยมีชื่อเรียกและความรุนแรงของแต่ละสายพันธุ์ดังต่อไปนี้
- สายพันธุ์แกมม่า 1 รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เลี่ยงภูมิคุ้มกัน ลดประสิทธิภาพวัคซีน
- ชสายพันธุ์อัลฟ่า 1.1.7 เลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70%
- สายพันธุ์เดลต้า 1.617 ระบาดเร็ว แพร่เชื้อง่าย หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้
- สายพันธุ์เบต้า 1.351 ระบาดรวดเร็ว แพร่เชื้อไวขึ้นราว 50% ลดประสิทธิภาพแอนติบอดี้