เลเซอร์ติ่งเนื้อมีขั้นตอนและวิธีดูแลรักษาอย่างไรเมื่อทำเลเซอร์มา

เลเซอร์ติ่งเนื้อ

สำหรับติ่งเนื้อนั้นจะประกอบไปด้วยส่วนของหนังกำพร้าด้านนอกสุด หนังแท้ และเนื้อเยื่อไขมันด้านใน ไม่ทราบกลไก หรือสาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อแน่ชัด แต่มักเกิดขึ้นบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ เช่น คอ หรือข้อพับต่าง ๆ จากการเสียดสีของเสื้อผ้า เช่น คอเสื้อ แขนเสื้อ ขอบกางเกง และผิวหนังบริเวณที่สวมเครื่องประดับ เช่น คอ ข้อมือ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นอาจสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เกิดติ่งเนื้อ ซึ่งจะมีวิธีการดูแลรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ติ่งเนื้อ ซึ่งจะมีขั้นตอนในการทำอย่างไรวันนี้เราจะพาท่านไปเรียนรู้ดังนี้

สาเหตุที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อมีอะไรบ้าง

ติ่งเนื้อเกิดจากผิวหนังล้อมรอบเส้นใยคอลลาเจนและเส้นเลือด คอลลาเจนดังกล่าวเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ตามร่างกายโดยเฉพาะที่ผิวหนัง ผู้ที่อายุมากมักมีติ่งเนื้อขึ้นมา ส่วนเด็กเล็กหรือทารกอาจมีติ่งเนื้อขึ้นมาบ้าง สาเหตุที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อยังไม่ปรากฏแน่ชัด อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อได้ ดังนี้

  • เกิดจากภาวะผู้ป่วยเบาหวานดื้ออินซูลิน  และภาวะน้ำตาลผิดปกติ (Prediabetes) โดยภาวะดื้ออินซูลินอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ เนื่องจากร่างกายดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากกระแสเลือดได้ไม่ดี ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าติ่งเนื้อเกี่ยวเนื่องกับดัชนีมวลกายที่มาก ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูง และภาวะดื้ออินซูลิน
  • เกิดจากโรคอ้วน ผู้ที่ประสบภาวะโรคอ้วน จะป่วยเป็นโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) โดยโรคนี้จะเกิดติ่งเนื้อจำนวนมากตามผิวหนังบริเวณคอและรักแร้
  • การตั้งครรภ์ ติ่งเนื้ออาจเป็นผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีระดับฮอร์โมนและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ติ่งเนื้ออาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อและภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
  • เชื้อเอชพีวี งานวิจัยบางชิ้นได้ศึกษาติ่งเนื้อจำนวน 37 ชิ้น ที่ขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย พบว่าติ่งเนื้อจำนวนร้อยละ 50  ปรากฏดีเอ็นเอของเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) จึงกล่าวได้ว่าเชื้อเอชพีวีอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ
  • พันธุกรรม ผู้ที่บุคคลในครอบครัวเคยมีติ่งเนื้อขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจเสี่ยงเกิดติ่งเนื้อได้

ติ่งเนื้อสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้หรือไม่

ส่วนใหญ่แล้ว ติ่งเนื้อไม่ได้เป็นเนื้อร้าย ผู้ที่มีติ่งเนื้ออาจรู้สึกระคายเคืองผิวหนังเมื่อติ่งเนื้อเสียดสีกับเสื้อผ้า ทั้งนี้  ติ่งเนื้อจะไม่เกิดขึ้นซ้ำเมื่อนำออกไป แต่อาจเกิดติ่งเนื้อขึ้นส่วนอื่นของร่างกายแทน วิธีป้องกันติ่งเนื้อยังไม่ปรากฏอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ติ่งเนื้อเป็นภาวะที่เลี่ยงได้ โดยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไปจนประสบภาวะอ้วนอันเป็นปัจจัยเสี่ยงของติ่งเนื้อ รวมทั้งสังเกตดูว่าก้อนนูนที่ขึ้นตามผิวหนังนั้นเป็นติ่งเนื้อ หูด หรือเนื้อร้ายอื่น ๆ ที่ต้องเข้ารับการรักษา หากพบลักษณะก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมามีลักษณะต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที

เลเซอร์ติ่งเนื้อมีขั้นตอนอย่างไร

  • แพทย์จะทำความสะอาดใบหน้า แล้วแพทย์จะทายาชาบริเวณที่จะทำเลเซอร์ และรอจนกว่ายาชาออกฤทธิ์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45 นาที หลายคนที่มีคำถามว่าจี้ไฝออก เจ็บไหม? ไม่จำเป็นต้องกังวลเลย
  • แพทย์จะทำการปิดตาเพื่อป้องกันแสงเลเซอร์ จากนั้นแพทย์จะยิงเลเซอร์บริเวณที่รักษา ขณะยิงจะไม่รู้สึกเจ็บและไม่มีการเสียเลือดใด ๆ ระยะเวลาในการทำขึ้นกับจำนวนเม็ดที่ยิง เช่น ถ้าไฝ 1 เม็ด ใช้เวลา 5 นาที ถ้าหลายเม็ดทั้งใบหน้า หรือมีจำนวนมาก อาจใช้เวลาประมาณ 30 นาที
  • การกำจัดติ่งเนื้อ หากมีขนาดเล็ก สามารถเลเซอร์ออกได้ตั้งแต่ครั้งแรกเพียงครั้งเดียว แต่หากมีขนาดใหญ่ จะต้องมาเลเซอร์ซ้ำเพื่อกำจัดรากไฝออกให้หมด จะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อทำเลเซอร์ติ่งเนื้อ

  • หลีกเลี่ยงการโดนน้ำบริเวณที่ทำการรักษา 3-5 วัน หากจำเป็นต้องโดนน้ำให้รีบใช้ผ้าสะอาดซับออกทันที
  • หากทำการรักษาที่ใบหน้าสามารถใช้ที่เช็ดเครื่องสำอางที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์ทำความสะอาดผิวหน้าได้
  • สมานแผล ด้วยการทายาลดการอักเสบ เช้าและก่อนนอนเป็นประจำ
  • ไม่แกะ เกา สะเก็ดที่เกิดขึ้นมาหลังการรักษา โดยจะหลุดเองตามธรรมชาติประมาณ 7-10 วัน เพื่อปกกันไม่ให้เกิดรอยแผลเป็น
  • หลังจากที่สะเก็ดหลุดแล้ว ควรทากันแดดบริเวณที่ทำการรักษา และควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดๆ
  • หลังทำเลเซอร์ 2 สัปดาห์ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจดูความเรียบร้อยแผลการรักษา

ติ่งเนื้อแบบไหนผิดปกติควรทำการรักษา

ปกติแล้วติ่งเนื้อที่เกิดขึ้นบนผิวหนังจะไม่เจ็บ ไม่แสดงอาการอะไร ยกเว้นติ่งเนื้อที่มีลักษณะดังต่อไปนี้จะถือว่าเป็นความผิดปกติ ที่ควรจะต้องรีบรักษา

  • ติ่งเนื้อมีสีเข้มกว่าสีผิวไปมาก เช่น ผิวมีสีเหลืองนวล แต่ติ่งเนื้อมีสีดำ เป็นต้น
  • ติ่งเนื้อมีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน
  • ติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่เกิน 5 มิลลิเมตร และมีขนาดใหญ่ขึ้นเร็วผิดปกติ
  • ติ่งเนื้อที่แกว่งไปมา ไม่มีก้านยึดกับผิวหนัง หรือมีเลือดออก รู้สึกคัน
  • ติ่งเนื้อมีลักษณะแข็ง เหมือนเป็นก้อนเนื้อนูนออกมา  

การป้องกันไม่ให้เกิดติ่งเนื้อสามารถทำได้หรือไม่

  1. ต้องรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว
  2. ดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อไม่ให้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีระดับไขมันในเลือดสูงจนเกินไป
  3. เพื่อเป็นการลดการเสียดสีกับผิวหนังควรใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ไม่รัดแน่นจนเกินไป