ผ่าตัดกรามช่วยปรับลักษณะของขากรรไกรและฟันให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม
ผ่าตัดกราม หรือการตัดกราม การผ่าตัดขากรรไกรเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและจัดเรียงตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรและฟันให้อยู่ตำแหน่งใหม่ที่สมดุลในการสบฟัน และเพิ่มความสวยงามของรูปหน้าเพื่อแก้ไขการสบฟันก่อนการผ่าตัด และหลังการผ่าตัดเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพิ่มความสวยงามของกราม ช่องฟัน และใบหน้าโดยรวมให้สมส่วนยิ่งขึ้น ทันตแพทย์จัดฟันจำเป็นต้องทำงานร่วมกับทันตแพทย์ผ่าตัดช่องปากและกระดูกขากรรไกรเพื่อร่วมกันวางแผนการักษากระบวนการผ่าตัดศัลยกรรมที่จะช่วยปรับลักษณะของขากรรไกรและฟันให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม
การผ่าตัดกรามมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
สำหรับการผ่าตัดกรามนั้นอาจมีวัตถุประสงค์ของการรักษาหลากหลาย ดังนี้
- การตัดกรามช่วยให้การกัดและเคี้ยวอาหารทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- การตัดกรามลดการสึกหรอและเสียหายของฟันที่ผ่านการใช้งานมาเป็นเวลาหลายปี
- การตัดกรามสามารถแก้ไขความไม่สมดุลของใบหน้า ช่วยเพิ่มคางให้กับผู้ที่ไม่มีคาง รวมทั้งผู้ที่มีปัญหาฟันบนยื่นกว่าฟันล่าง ฟันล่างยื่นกว่าฟันบน หรือมีฟันสบกันแบบไขว้
- การตัดกรามจะสามารถซ่อมแซมแก้ไขใบหน้าตั้งแต่ส่วนกลางลงมาถึงส่วนล่างให้สมมาตรกัน
- การตัดกรามช่วยแก้ไขรอยยิ้มเห็นเหงือก เนื่องจากปากปิดไม่สนิทหรือปากเปิดขึ้นจนเห็นเหงือกมากเกิน
- การตัดกรามแก้ปัญหาการยิ้มไม่เห็นฟัน เพราะริมฝีปากบดบังฟันไว้
- การตัดกรามลดโอกาสการเกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร รวมถึงปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับขากรรไกร
- การตัดกรามช่วยรักษาใบหน้าที่ได้รับบาดเจ็บจนเสียหาย หรือแก้ไขความผิดปกติของใบหน้า
- การตัดกรามสามารถรักษาผู้ป่วยโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ความเสี่ยงการผ่าตัดกรามเป็นอย่างไรบ้าง ?
การผ่าตัดขากรรไกรโดยทั่วไปเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยหากผ่าตัดโดยทันตแพทย์ผ่าตัดช่องปากและขากรรไกร ที่ทำงานร่วมกับทันตแพทย์จัดฟัน
ความเสี่ยงจากการผ่าตัด
- สูญเสียเลือด
- แผลติดเชื้อ
- อาการชาบริเวณริมฝีปาก
- กระดูกขากรรไกรหักอย่างไม่พึงประสงค์
- การกลับคืนตำแหน่งเดิมก่อนการผ่าตัด
- การสบฟันไม่สนิทหรือปวดข้อต่อขากรรไกร
- มีเหตุจำเป็นต้องผ่าตัดซ้ำ
- มีเหตุจำเป็นต้องรักษารากฟัน หรือสูญเสียฟัน
- เกิดการสูญเสียกระดูกขากรรไกรบางส่วน
กระบวนการผ่าตัดกราม
การผ่าตัดกรามหรือขากรรไกรส่วนใหญ่สามารถทำการผ่าตัดภายในปากได้ จึงไม่ทำให้เกิดแผลเป็นบนใบหน้าบริเวณคางหรือปาก โดยแพทย์จะผ่าตัดกระดูกขากรรไกรแล้วจัดตำแหน่งให้ถูกต้องสวยงามยิ่งขึ้น เมื่อจัดตำแหน่งดีแล้ว แพทย์จึงยึดกระดูกให้อยู่ที่ตำแหน่งใหม่นี้ด้วยน็อตและแผ่นดามกระดูก
น็อตที่ใช้นี้เป็นน็อตขนาดเล็กที่จะค่อย ๆ ผสานเข้ากับโครงสร้างของกระดูกเมื่อเวลาผ่านในบางกรณี แพทย์อาจใช้กระดูกจากส่วนอื่น ๆ ของผู้ป่วย เช่น กระดูกสะโพก ขา หรือกระดูกซี่โครง เข้าไปช่วยเสริมขากรรไกร แล้วใช้ลวดยึดไว้ชั่วคราวทั้งนี้ การศัลยกรรมซ่อมแซมปรับปรุงกรามหรือขากรรไกรทำได้ทั้งที่กรามส่วนบน ส่วนล่าง หรือทั้งกรามบนและล่าง
การตัดกรามบน
เป็นการแก้ไขขากรรไกรบนที่ถอยร่นไปด้านหลัง การสบฟันแบบไขว้ ปัญหาการยิ้มแล้วเห็นฟันมากเกินหรือน้อยเกินไป รวมถึงปัญหาฟันสบเปิดที่มีช่องว่างระหว่างฟันหน้าเมื่อกัดฟันแพทย์จะตัดกระดูกบริเวณเหนือฟัน เพื่อให้ขากรรไกรส่วนบนทั้งหมด รวมถึงเพดานปาก และฟันบนเคลื่อนมารวมกันได้ และย้ายตำแหน่งขากรรไกรและฟันบนจนกว่าจะพอดีกับฟันล่าง เมื่อจัดตำแหน่งเรียบร้อยแล้วจึงยึดด้วยแผ่นดามกระดูกและน็อต
ด้านปัญหาฟันหน้าที่สบกันไม่สนิทนั้นเกิดจากกระดูกเหนือฟันกรามมีการเติบโตมากผิดปกติ ทำให้ฟันที่ควรจะเรียบเสมอกันเคลื่อนที่ทำมุม ทำให้แม้ฟันกรามจะสบกันเมื่อกัดฟัน แต่ก็ยังเหลือช่องว่างที่ฟันหน้าไว้ ส่งผลให้เคี้ยวอาหารลำบากขึ้น ผู้ป่วยที่มีปัญหานี้แพทย์สามารถแก้ไขให้ได้โดยการขูดหรือตัดกระดูกที่มากเกินออก
การตัดกรามล่าง
ขากรรไกรล่างที่ร่นเข้าไปสามารถปรับแก้ด้วยการเจาะกระดูกขากรรไกรล่าง โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดที่บริเวณหลังฟันกรามและตามแนวยาวของกระดูกขากรรไกร เพื่อให้ขากรรไกรส่วนหน้าเคลื่อนมารวมตัวกัน เมื่อขากรรไกรเคลื่อนตัวไปสู่ตำแหน่งใหม่ดีแล้วจึงยึดด้วยน็อตไว้จนกระทั่งแผลหายดี
การศัลยกรรมคาง
คนไข้ในรายที่มีกรามล่างถอยร่นเข้าไปรุนแรงมักทำให้มีคางเล็กไปโดยปริยาย การแก้ไขสามารถใช้การศัลยกรรมคาง โดยมีกระบวนการคือ ตัดกระดูกคางแล้วยึดไปสู่ตำแหน่งใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ศัลยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขากรรไกรและปรับโครงสร้างของคางร่วมด้วย
ระยะพักฟื้นหลังการผ่าตัด
- ปวดและบวม
- การทานอาหารได้ลำบากอาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริม
- จำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อปรับสภาพจิตใจให้รับกับรูปหน้าที่เปลี่ยนแปลง
ทันตแพทย์จัดฟันทำการตืดเครื่องมือจัดฟันก่อนการผ่าตัดประมาน 12 ถึง 18 เดือน เพื่อจัดเรียงและปรับระดับฟันก่อนการผ่าตัดทันตแพทย์จัดฟันทำการวางแผนรักษาร่วมกับทันแพทย์ผ่าตัดช่องปากและกระดูกขากรรไกร โดยจำเป็นต้องใช้ภาพถ่ายรังสี รูปถ่ายและแบบจำลองการสบฟันเพื่อวางแผนการรักษา
ในบางกรณีอาจจำเป้นต้องมีการกรอแต่งฟันเพื่อแก้การสบฟันร่วมด้วยการทำถ่ายภาพรังสีสามมิติด้วยคอมพิวเตอร์ ร่วมกับการวางแผนการรักษาโดยใช้โปรแกรมจำลองสามมิติ จะมีส่วนช่วยในการวางแผนการรักษาเป็นอย่างมาก และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแผนการรักษาของทันตแพทย์ผู้รักษาไปยังผู้ป่วยได้ดีขึ้น