ตัดกรามเจ็บไหม สามารถทำได้หรือไม่ ใครบ้างควรผ่าตัด

ตัดกราม

ตัดกรามเจ็บไหม

การตัดกราม หรือการผ่าตัดขากรรไกร เพื่อเพิ่มความสวยงามของกราม ช่องฟัน และใบหน้าโดยรวมให้สมส่วนยิ่งขึ้นผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดกรามต้องมีสุขภาพดีละควรทำหลังช่วงอายุที่ร่างกายหยุดการเจริญเติบโตแล้ว โดยสำหรับผู้หญิงจะเป็นช่วงอายุประมาณ 13-15 ปี ส่วนในผู้ชายควรทำเมื่ออายุ 16-18 ปีเสียก่อนเพื่อพิจารณาถึงเทคนิคการผ่าตัดและจัดตำแหน่งขากรรไกรที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของคนไข้ที่สุด บางคนอาจจะคิดว่า ตัดกรามเจ็บไหม ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาเป็นอย่างมาก การตัดกรามจึงเป็นที่นิยม

การตัดกรามมีประโยชน์อย่างไร ?

การผ่าตัดกรามอาจมีวัตถุประสงค์ของการรักษา ดังนี้

  • ช่วยให้การกัดและเคี้ยวอาหารทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ลดการสึกหรอและเสียหายของฟันที่ผ่านการใช้งานมาเป็นเวลาหลายปี
  • แก้ไขความไม่สมดุลของใบหน้า ช่วยเพิ่มคางให้กับผู้ที่ไม่มีคาง รวมทั้งผู้ที่มีปัญหาฟันบนยื่นกว่าฟันล่าง ฟันล่างยื่นกว่าฟันบน หรือมีฟันสบกันแบบไขว้
  • ซ่อมแซมแก้ไขใบหน้าตั้งแต่ส่วนกลางลงมาถึงส่วนล่างให้สมมาตรกัน
  • ช่วยแก้ไขรอยยิ้มเห็นเหงือก เนื่องจากปากปิดไม่สนิทหรือปากเปิดขึ้นจนเห็นเหงือกมากเกิน
  • แก้ปัญหาการยิ้มไม่เห็นฟัน เพราะริมฝีปากบดบังฟันไว้
  • ลดโอกาสการเกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร รวมถึงปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับขากรรไกร
  • ช่วยรักษาใบหน้าที่ได้รับบาดเจ็บจนเสียหาย หรือแก้ไขความผิดปกติของใบหน้า
  • รักษาผู้ป่วยโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เตรียมพร้อมก่อนผ่าตัดกราม

เริ่มแรกคือการพูดคุยปรึกษากับศัลยแพทย์ถึงผลลัพธ์การผ่าตัดกรามที่คนไข้ต้องการ โดยแพทย์จะแนะนำและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ประโยชน์ในระยะยาว ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจขึ้น ระยะเวลาการฟื้นตัวหลังผ่าตัด รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจของคนไข้ที่อาจไม่คุ้นชินกับรูปหน้าใหม่และเผชิญภาวะซึมเศร้าต่อมาจึงประเมินลักษณะขากรรไกรของผู้ป่วย

เพื่อพิจารณาถึงเทคนิคการผ่าตัดและจัดตำแหน่งขากรรไกรที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของคนไข้ที่สุด เมื่อแน่ใจและเข้าใจตรงกันแล้วว่าควรใช้การผ่าตัดแบบใด จึงวางแผนการผ่าตัดทั้งหมด เริ่มจากการตรวจประเมินคนไข้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจร่างกาย ถ่ายภาพใบหน้าและลักษณะของขากรรไกรก่อนผ่าตัด

ตรวจประเมินกระดูกของผู้เข้ารับการผ่าตัดด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์ รวมทั้งการพิมพ์ฟันเพื่อใช้ประกอบการวางแผนผ่าตัดทั้งนี้ก่อนถึงกระบวนการผ่าตัดจริง แพทย์จะรักษาโรคเหงือกและฟันผุในช่องปากให้เรียบร้อย รวมทั้งทำความสะอาดช่องปากเพื่อลดการอักเสบของเหงือกที่อาจตามมา และให้ข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ ยาหรืออาหารเสริมที่ควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรมีคนพากลับบ้านหลังการผ่าตัด ไม่ว่าการผ่าตัดนั้นจะต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือไม่ก็ตาม

การตัดกรามมีความเสี่ยงหรือไม่ ?

การผ่าตัดกรามสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ซึ่งศัลยแพทย์จะพูดคุยและทำความเข้าใจกับผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดกรามถึงความเสี่ยงที่เป็นไปได้ต่อไปนี้

  • การเสียเลือดมาก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดใด ๆ ก็ตาม
  • การติดเชื้อ มักพบได้ไม่บ่อยในการผ่าตัดขากรรไกร
  • เส้นประสาทได้รับความเสียหาย อาจส่งผลให้รู้สึกชาชั่วระยะหนึ่งแล้วค่อย ๆ ดีขึ้น หรือเป็นอาการชาอย่างยาวนาน หรือปากเบี้ยว เป็นต้น
  • เกิดการคืนตัวของกระดูก ฟันกลับไปสบผิดปกติเหมือนเดิม
  • เกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
  • การแตกของกระดูกบริเวณที่ถูกผ่า
  • ผลข้างเคียงด้านจิตใจอย่างภาวะซึมเศร้าที่มักเกิดขึ้นฉับพลันหลังการผ่าตัด และมักรู้สึกดีขึ้นภายในไม่กี่วัน หรือคนไข้อาจไม่พอใจกับผลลัพธ์หรือยังไม่คุ้นชินกับลักษณะรูปกรามใหม่ ทั้งนี้สามารถปรึกษาพูดคุยกับศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดถึงปัญหาดังกล่าว

การผ่าตัดกราม สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  1. การผ่าตัดกราม แบบซ้อนแผลภายในช่องปาก

เป็นการผ่าตัดกรามต้องใช้ความชำนาญของแพทย์ และผ่าตัดโดย ศัลยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมตกแต่งเท่านั้น รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดได้ได้มารตราฐาน เนื่องจากการผ่าตัดในช่องปากเป็นการผ่าตัดที่มีพื้นที่แคบจึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้ต้องมีขนาดเล็ก และ มีมาตรฐานประสิทธิภาพสูง

การผ่าตัดวิธีนี้จะเป็นที่นิยมกันมากกว่าเพราะไม่เห็นแผลเป็น นอกจากนั้นกระดูกกรามที่ได้จะโค้งเนียนสวยกว่าเพราะสามารถตัดแต่งได้ตลอดกระดูกขากรรไกร สำหลังเรื่องของอาการบวมหลังผ่าตัด การผ่าตัดในช่องปากจะมีอาการบวมมากกว่าคือประมาณ 5-10 วัน เพราะทำในที่แคบซึ่งยากกว่าและเนื้อเยื่ออาจชอกช้ำมากกว่า

ข้อดี : ไม่มีรอยแผลเป็น, สามารถตัดแต่งมุมกรามได้มากกว่า, สามารหลีกเลี่ยงเส้นประสาทได้ดีกว่าการเปิดแผลภายนอกข้อเสีย : มีอาการบวมมากกว่าการเปิดแผลภายนอก,การผ่าตัดภายในช่องปาก จำเป็นต้องรักษาเรื่องความสะอาดภายในช่องปากมากกว่าปกติ

  1. การผ่าตัดกราม แบบเปิดแผลภายนอกช่องปาก

วิธีนี้ศัลยแพทย์จะทำการเปิดแผลที่มุมกรามด้านนอก หลังจากนั้น จะทำการตัดกระดูกกรามออก และ กรอเก็บมุมกราม ให้เล็กลงและได้รูปทรง หลังจากนั้นศัลยแพทย์จะทำการเย็บปิดแผล

ข้อดี : สามารถทำได้ง่ายกว่าวิธีผ่าตัดจากในช่องปาก, อาการบวมน้อยกว่าการผ่าตัดจากในช่องปาก

ข้อเสีย : เสี่ยงต่อการกระทบเส้นประสาทได้ง่าย, มีรอยแผลเป็นหลังการผ่าตัด

***ไม่ค่อยได้รับความนิยมในปัจจุบัน***