ติ่งเนื้อมีสาเหตุเกิดจากอะไร และวิธีการจี้ติ่งเนื้อทำอย่างไรได้บ้าง

จี้ติ่งเนื้อบนผิวหนัง

ติ่งเนื้อมีสาเหตุเกิดจากอะไร และวิธีการจี้ติ่งเนื้อทำอย่างไรได้บ้าง

จี้ติ่งเนื้อ ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับติ่งเนื้อกันก่อน ติ่งเนื้อก็คือ ก้อนเนื้อเล็กมีลักษณะนุ่ม ซึ่งเกิดขึ้นมาและเป็นติ่งอยู่บนผิวหนัง มีสีและขนาดแตกต่างกันไป โดยมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงประมาณ 2 นิ้ว ติ่งเนื้อจะไม่ใช่เนื้อร้าย และไม่กลายเป็นมะเร็งผิวหนัง โดยทั่วไปแล้ว บริเวณผิวหนังที่เป็นข้อพับมักเกิดติ่งเนื้อ เช่น คอ รักแร้ ลำตัว ใต้ราวนม หรือบริเวณหัวหน่าว ผู้ที่มีติ่งเนื้ออาจรู้สึกระคายเคืองในกรณีที่ติ่งเนื้อเสียดสีกับเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุมากขึ้นอาจเกิดติ่งเนื้อได้ พบได้ทั่วไปสำหรับผู้ที่มีอายุ 50-60 ปี ขึ้นไป และมีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ตั้งครรภ์ หรือมีบุคคลในครอบครัวเคยเกิดติ่งเนื้อ

ติ่งเนื้อเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

สำหรับสาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อนั้นยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน แต่อาจเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มคอลลาเจน และเส้นเลือดที่ติดอยู่ภายในผิวหนังหนาขึ้น ติ่งเนื้อพบมากในรอยพับหรือรอยพับของผิวหนัง และอาจเกิดจากการถูกับผิวหนัง บางครั้งดูเหมือนว่าพันธุกรรมจะส่งผลต่อการเพิ่มจำนวนของติ่งเนื้อ ซึ่งติ่งเนื้อนั้นสามารถเกิดได้ในชายและหญิง แต่พบได้บ่อยในผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และผู้ป่วยเบาหวานโดยมีความเกี่ยวข้องกับอินซูลินมากเกินไปในกระแสเลือด

ติ่งเนื้อจำเป็นต้องรักษาหรือไม่

สำหรับติ่งเนื้อผิวหนังนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดอาการอะไร ไม่เปลี่ยนไปเป็นมะเร็ง และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่การมีจำนวนติ่งเนื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับ “เนื้องอกในลำไส้” แต่ยังไม่มีหลักฐานข้อมูลที่ชัดเจน เพราะปกติแล้วติ่งเนื้อจะไม่ค่อยสัมพันธ์กับโรคภายในร่างกาย เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงในวัยที่เพิ่มขึ้น หรือเป็นพันธุกรรมมากกว่า

พบติ่งเนื้อในผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไร

การพบติ่งเนื้อในผู้ใหญ่นั้นเมื่อเป็นแล้วจะเป็นแบบถาวรหากไม่ได้ทำการตัดออก แต่หากเป็นติ่งเนื้อขนาดใหญ่ เช่นขนาดเกิน 5 มิลลิเมตร หรือโตเร็วผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ ตรวจเช็ดว่าเป็นติ่งเนื้อธรรมดา หรือเป็นเนื้องอกที่มีอันตราย

การรักษาติ่งเนื้อทำได้อย่างไร

ในบางรายที่มีปัญหาในภาพลักษณ์ ต้องการรักษา แพทย์จะให้การรักษาโดยทำการตัดออก โดยใช้ใบมีด กรรไกร จี้ไฟฟ้า การเลเซอร์ และการใช้ความเย็น ไนโตรเจนเหลว หลังรักษาอาจจะมีแผลตื้น ๆ ควรทายาและดูแลให้สะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม “ติ่งเนื้อผิวหนัง” ไม่ใช่เนื้อร้ายเนื้องอกมะเร็ง และมักไม่ก่ออาการหรือผลข้างเคียงใดๆ นอกจากมีการเสียดสีกับเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับ ที่อาจก่อให้เกิดอาการคัน ความรำคาญ หรือเป็นปัญหาด้านความสวยงาม

กำจัดติ่งเนื้อด้วยแพทย์มีวิธีใดบ้าง

สำหรับการกำจัดติ่งเนื้อด้วยแพทย์มีหลายลักษณะ ได้แก่ ผ่าตัดติ่งเนื้อ บำบัดด้วยความเย็นจัด และจี้ติ่งเนื้อ ดังนี้

  • ผ่าตัดติ่งเนื้อ วิธีนี้จะช่วยกำจัดติ่งเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็เสี่ยงเกิดเลือดออกได้มาก
  • ใช้ความเย็นโดยบำบัดด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy) วิธีนี้จะรักษาติ่งเนื้อด้วยอุณหภูมิเย็นจัด อีกทั้งยังใช้รักษาผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวดจากเส้นประสาท มะเร็งบางชนิด หรือเซลล์ผิวหนังที่เกิดความผิดปกติ โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์สำหรับรักษาเข้าไปข้างในเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่เส้นประสาทถูกทำลาย และลดอุณหภูมิของเครื่องมือจนเย็นจัด เพื่อแช่แข็งเส้นประสาท ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือระคายเคือง
  • จี้ติ่งเนื้อ (Cauterization) วิธีนี้จะใช้ไฟจี้ติ่งเนื้อที่มีสีผิดปกติหรือทำให้เกิดการระคายเคือง ให้หลุดออกไป

กำจัดติ่งเนื้อด้วยตัวเองมีวิธีใดบ้าง

กระเทียม

ให้ท่านนำกระเทียมสดมาบดและแปะที่ติ่งเนื้อและใช้พลาสเตอร์ปิดทับ ทำก่อนนอนแล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นตอนเช้าทำติดกันทุกคืน ประมาณ 3 คืน ติ่งเนื้อจะหลุดออก คำเตือนว่าวิธีนี้ไม่ควรทำเกิน 3 คืนติดกัน เพราะจะทำให้ผิวไหมได้นั่นเอง

น้ำสับปะรด

ให้ท่านนำสำลีชุบกับน้ำสับปะรดแล้วปิดที่ติ่งเนื้อวันละ 2 รอบ ประมาณ 1 สัปดาห์ ติ่งเนื้อจะหายไป

ขิง

ให้ท่านลอกเปลือกของขิงออกแล้วนำมาถูตรงติ่งเนื้อทุก ๆ วัน ประมาณ 2 สัปดาห์ จะหลุดออกโดยไม่รู้ตัว

น้ำมันละหุ่ง

ให้ท่านนำน้ำมันละหุงผสมกับ Baking Soda อัตราส่วน 2:1 แต้มบริเวณที่เป็นทุกวัน ประมาณ 2-4 สัปดาห์จะหลุดออกเอง หากกลิ่นเหม็นก็เติมน้ำมันผิวส้มก็จะทำให้หอมขึ้น

หากมีติ่งเนื้อต้องดูแลตัวเองอย่างไร

  1. ไม่สวมเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับที่ทำให้เกิดการเสียดสีกับติ่งเนื้อ เพื่อลดความรำคาญ หรืออาการบาดเจ็บ
  2. หากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หรือมีอาการอื่นเช่น บาดเจ็บเป็นแผล มีน้ำเหลือง หรือหนอง หรืออาการอื่นๆ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำความสะอาดแผลอย่างถูกต้อง หรือตัดติ่งเนื้อส่งตรวจเพื่อความแน่ใจอีกครั้ง
  3. ติ่งเนื้อสามารถบิดหลุดออกได้ในบางกรณี แต่หากเป็นติ่งเนื้อขนาดใหญ่ อย่าลองตัดเองที่บ้าน เพราะอุปกรณ์ที่ใช้อาจไม่สะอาดพอ และอาจทำให้บาดแผลติดเชื้อได้